SACICT เร่งพัฒนาศูนย์ข้อมูลหัตถกรรม ผลักดันไทยเป็น Art & Craft-Hub แห่งอาเซียน

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์กรมหาชน) หรือ (SACICT) สร้างชุมชนหัตถศิลป์ (Craft Cluster) หนุนยุทธศาสตร์ชาติ ไทยแลนด์ 4.0 มุ่งเป้าเป็นศูนย์กลางศิลปหัตถกรรมแห่งอาเซียน

นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์กรมหาชน) หรือ SACICT กล่าวว่า ยอดจำหน่ายสินค้าศิลปหัตถกรรมของ SACICT ย้อนหลังหกเดือนยังเติบโตได้ดีท่ามกลางเศรษฐกิจโลก ที่กำลังเผชิญความไม่แน่นอนสูงจากแรงกดดันสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริการและจีน 
ทั้งนี้ ช่องทางจัดจำหน่ายที่สนามบินยังเป็นช่องทางหลัก ได้แก่ SACICT SHOP ที่ สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินภูเก็ต มียอดขายรวม 7.90 ล้านบาท โดยมีนักท่องเที่ยวจีนเป็นลูกค้าหลัก ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมเป็นกลุ่มตุ๊กตา ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้า เครื่องประดับ   ส่วนของร้านค้าในศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ พระนครศรีอยุธยา มียอดจำหน่าย รวม 5.97 ล้านบาท โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมเป็นกลุ่มผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าพันคอ ผ้าคุลมไหล่ นอกจากนี้ ยังมียอดจำหน่ายจากการจัดงานแสดงสินค้าต่างๆ ซึ่งมีอัตราการเติบดีอย่างต่อเนื่องโดยมียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10 “เมื่อพิจารณาจากยอดจำหน่ายที่ SACICT Shop ณ สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินภูเก็ต ในปี 2561 ซึ่งสูงถึง 22.5 ล้านบาท สามารถเติบโตกว่าร้อยละ 40 ในขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง ชี้ให้เห็นว่า หัตถศิลป์ไทยสามารถเติบโตสวนกระแสเศรษฐกิจ และมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ  ทั้งนี้ เรามั่นใจว่าสินค้าหัตถศิลป์ไทยในปีนี้คาดว่าจะเติบโตไม่น้อยกว่าไปกว่าปีที่ผ่านๆ มา เนื่องจากทั่วโลกกำลังตื่นตัวในงานศิลปหัตกรรม” 

สำหรับกลยุทธ์การดำเนินงานในปีนี้ยังคงมุ่งมั่นผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางศิลปหัตถกรรมของภูมิภาคอาเซียน (Art & Craft Hub of Southeast Asia) ด้วยแนวทาง “หัตถศิลป์ในชีวิตประจำวัน” (Today Craft Life) ควบคู่กับการทำพัฒนาคน พัฒนาสินค้า พัฒนาตลาด และพัฒนาระบบฐานข้อมูล Big Data “SACICT Archives จะรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้งานหัตถศิลป์ 10 ประเภท จากแหล่งต่างๆ ทั้งจากบุคคล ครูศิลป์ ครูช่างและทายาท เชื่อมโยงกับแหล่งเรียนรู้อื่น เช่น พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ศูนย์ข้อมูลความรู้ด้านมนุษย์วิทยา โบราณคดี ประวัติศาสตร์ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกในหลายมิติที่สามารถนำไปวิเคราะห์ (Analytic) ต่อยอดในเชิงพาณิชย์ เช่น ภาคธุรกิจสามารถสืบค้นข้อมูลงานศิลปหัตถกรรมที่ต้องการทำ Business Matching กับชาวบ้านในท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ  อีกทั้งยังช่วยผลักดันให้ผู้ประกอบการท้องถิ่นจดทะเบียนธุรกิจกับกระทรวงพาณิชย์เพื่อเข้าถึงข้อมูลภาครัฐ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการส่งออกไปยังต่างประเทศ” 

ปัจจุบัน ฐานข้อมูลของ SACICT มีข้อมูลสมาชิกกว่า 4,000 คน ในจำนวนนี้เป็นข้อมูลที่ปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันแล้วกว่า 2,000 ราย ประกอบด้วย ข้อมูลครูศิลป์-ครูช่างและทายาทจำนวน 381 ราย ส่วนที่เหลือเป็นข้อมูลสมาชิกชุมชนหัตถกรรม (Craft Cluster) ูสามารถสืบค้นข้อมูลได้ 3 ภาษา คือ ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ ทำให้ได้รับการอ้างอิงในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในอาเซียน
นอกจากนี้ การดำเนินงานของ SACICT ยังมุ่งเน้นการสร้างการรับรู้ในคุณค่าความงามของศิลปหัตถกรรมไทยว่าสามารถประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตปัจจุบัน หรือที่เรียกว่า “หัตถศิลป์ของชีวิตปัจจุบัน (Today Craft Life)” เช่น ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการและชุมชนมีการเรียนรู้ด้วยตนเอง  มีการทำงานกับนักออกแบบเพื่อคัดเลือกงานศิลปหัตถกรรมที่มีการออกแบบที่น่าสนใจ

นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดหัวข้อที่เป็นแกน (Theme) ในการออกงานแสดงสินค้า เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเกิดการพัฒนาตนเอง ออกแบบสินค้าหรือนวัตกรรมใหม่ๆ ทุกครั้งที่เข้าร่วมให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า พร้อมกับประสบการณ์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า
“ภูมิปัญญาคือ ราก ที่ทำให้ศิลปหัตกรรมมีตัวตนที่โดดเด่น  ในขณะที่ความคิดสร้างสรรคและการออกแบบจะช่วยดึงอัตลักษณ์ของครูช่างแต่ละท่านออกมา  ทุกวันนี้ผู้บริโภคหลายคนเริ่มเรียนรู้ว่าเครื่องเงินของครูแม่ดอกแก้ว กับครูแม่คำลื้อ มีความแตกต่างกัน สิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือนการสร้างแบรนด์ให้กับครูช่างเพื่อช่วยให้เขาเดินไปข้างหน้าได้เองในวันที่ไม่มีการสนับสนุนจากเรา” 
นางอัมพวันกล่าวว่า ผู้บริโภคมีทัศนคติที่เปลี่ยนไปมากต่อสินค้าศิลปหัตกรรมไทยเมื่อเทียบกับ 4 ปีที่ผ่านมา คนรุ่นใหม่หันกลับมามองภูมิปัญญา รากเหง้าในชุมชุนที่สูญหายไป หันมาใช้งานศิลปหัตกรรมในชีวิตประจำวัน ทำให้ผู้บริโภคกับผู้ผลิตมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น

ทั้งนี้ SACICT ยังได้สร้างเครือข่ายและขยายความร่วมมือสู่ชุมชนชนหัตถกรรมในต่างประเทศ เช่น ไต้หวัน และประเทศภูฎาณ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำโมเดลมาปรับปรุงพัฒนา รวมถึงการเปิดตลาดใหม่ผ่านการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า นิทรรศการและงานศิลปะต่างๆ เพื่อขยายกลุ่มลูกค้าไปสู่กลุ่มแกลลอรี พิพิธภัณฑ์อีกด้วย

เกี่ยวกับศูนย์ศิลปาชีพระหว่างประเทศ 

ศูนย์ศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์กรมหาชน) หรือ The SUPPORT Arts and Crafts International Centre of Thailand (Public Organization) SACICT เป็นองค์กรมหาชน ตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2546 ด้วยวิสัยทัศน์เพื่อเป็นศูนย์รวมองค์ความรู้ และอนุรักษ์สืบสานคุณค่าศิลปหัตถกรรมไทย รวมทั้งต่อยอดเชิงพาณิชย์สู่สากล เพื่อให้ชุมชนอยู่ดีกินดี อย่างยั่งยืน
Share:

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Recent Posts

ค้นหาบล็อกนี้

Contact Us ::

📲 (+66) 081 4345154
✉️ Insightoutstory@gmail.com

Add Line📲 Click 👇👇

Translate

🚉 ช.ส.ท.พาเที่ยว นครฯ

Review By Nichapa

POPULAR NEWS

Fanpage Facebook

ป้ายกำกับ

คลังบทความของบล็อก