“AFbrother” แพลตฟอร์มอินฟลูเอนเซอร์แอดเวอร์ไทซิ่ง​ เปิดมิติใหม่ในการดีลงานระหว่าง Brand – Influencer ครบ จบในที่เดียว

บริษัท เอเอฟบราเดอร์ ลิมิเต็ด เปิดตัวเว็บไซต์ ‘AFbrother’ Influencer Matching Platform ใหม่ล่าสุด เพื่อตอบสนองความต้องการด้านการตลาดออนไลน์ผ่านอินฟลูเอนเซอร์แบบครบวงจร ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่เปิดโอกาสให้เอเจนซี่ หรือผู้ประกอบการสามารถเข้ามาเลือก Influencer หรือผู้ให้บริการเว็บไซต์ ได้หลากหลายรูปแบบ เลือกได้ตามจำนวน Followers หรือการเลือก Influencer ที่มีความเชี่ยวชาญในสายงานต่างๆ 
ทั้งนี้จุดเด่นของ AFbrother คือ สามารถกำหนด  #Hashtag ที่ต้องการให้ Influencers ใช้ได้ และลูกค้าสามารถระบุชื่อ แบรนด์สินค้า(คู่แข่ง) เพื่อไม่ให้ Influencer รับงานก่อนและหลังการทำงานให้ Campaign ของลูกค้าได้เช่นกัน

นางสาวทิพยาภรณ์ พรมราช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเอฟบราเดอร์ ลิมิเต็ด เปิดเผยว่า เนื่องจากเทรนด์การทำการตลาดผ่านอินฟลูเอนเซอร์ยังถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่นักการตลาดเลือกใช้มากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ปัจจุบันการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ยังคงได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ซึ่งสามารถสังเกตได้จากมูลค่าตลาดอินฟลูเอนเซอร์ในช่วงที่ผ่านมา โดยปี 2021 มูลค่าของตลาดมีตัวเลขเพิ่มขึ้นมากกว่า 42% หรือคิดเป็น 13,800 ล้านเหรียญ จากปี 2020 
อีกทั้งยังมีการคาดการณ์ว่าตัวเลขในปี 2023 อาจทะยานขึ้นอีกมาก  ซึ่งทุกคนทราบดีว่าการแข่งขันในตลาดสูงมาก ทุกธุรกิจต่างพร้อมใจกันงัดกลยุทธ์เด็ดออกมาใช้เพื่อให้แบรนด์เป็นที่รู้จักมากที่สุด Influencer Marketing จึงเข้ามามีบทบาทในการโปรโมทธุรกิจและสร้าง Branding อย่างมาก 

แพลตฟอร์มเว็บไซต์ AFbrother จะช่วยตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าลด pain point ในขั้นตอนการทำงานของแต่ละฝ่ายลง  ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีการสื่อสารการตลาดได้อย่างตรงใจมากขึ้น ในส่วนของ AFbrother ก็ใช้งานง่าย เรียกได้ว่าเป็นพื้นที่ให้นักการตลาด แบรนด์ และอินฟลูเอนเซอร์ สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพียงแค่แบรนด์เข้าไปเปิดแคมเปญในแอปพลิเคชัน แล้วรอเลือกอินฟลูเอนเซอร์ที่สนใจจะเข้าร่วมได้ทันที โดยระบบจะสรุปข้อมูลสำคัญที่จำเป็นต้องใช้ตัดสินใจในการเลือกอินฟลูเอนเซอร์รวมไปถึงการสรุปข้อมูลหลังจบแคมเปญโดยอัตโนมัติอย่างครบถ้วน ด้านอินฟลูเอนเซอร์เองก็สะดวก โดยสามารถเลือกดูแบรนด์ที่ตัวเองสนใจ แล้วกดสมัครร่วมงานกับแบรนด์ที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย ซึ่งฟังก์ชันและบริการทั้งหมดที่กล่าวมานั้น นักการตลาด แบรนด์และอินฟลูเอนเซอร์ สามารถเข้าใช้บริการ AFbrother อย่างเต็มรูปแบบ ครบ จบได้ในที่เดียว 

ทั้งนี้ AFbrother จัดว่าเป็น Marketing Technology หรือ MarTech คือ การทำการตลาดในรูปแบบใหม่ด้วยการนำเทคโนโลยีมาเป็นส่วนสำคัญในการทำการตลาดที่มี Business Model แบบ Two-Sided Market ที่เปิดโอกาสให้ผู้ลงโฆษณา (Advertiser) ได้เจอกับ ผู้เผยแพร่โฆษณา (Publisher) โดยประโยชน์ที่จะได้จาก AFbrother ในมุมของนักการตลาดก็คื

•Transparency Commission / Incentive ทุกๆ ยอดการใช้จะเห็น Cost per transaction โปร่งใสชัดเจน ไม่ว่าจะ Cost per Impression, Cost per Click ต่างๆ ทำให้สามารถ Allocate Budget ได้ด้วยการดู Performance

•Rocket Launch Social Campaign ลดเวลาในการสรรหา Influencer, การเจรจาต่อรองเงื่อนไข และลดเวลาการเข้าไป Analyze/Assessment จุดอ่อน จุดแข็งของ Influencers แต่ละคน

"AFbrother ตั้งใจที่จะช่วยแบรนด์ในการค้นหาอินฟลูเอนเซอร์ ตามหา KOL ที่ตรงใจ ให้รองรับสเกลของธุรกิจ การ Implement Platform อย่างมีระบบ การทำ Change Management และการติดตามการ Adoption ควบคุมการบริหารโครงการด้วยผู้มีประสบการณ์ตรง ได้ครบ จบ ภายในที่เดียว" คุณทิพยาภรณ์ กล่าวเพิ่มเติม

เกี่ยวกับ AFbrother

AFbrother เป็น Platform ช่วยในการจัดหาพื้นที่ในการลงสื่อโฆษณาของคุณบนโซเชียลมีเดียของอินฟลูเอ็นเซอร์ และให้ผู้เผยแพร่โฆษณาสามารถสร้างรายได้จากโซเชียลมีเดียของตัวเอง โดยการแสดงโฆษณาที่ตรงเป้าหมายต่อผู้ชม และผู้เผยแพร่โฆษณาจะได้รับรายได้ทุกครั้งที่ผู้ชมเห็นโฆษณา

Share:

“เทศกาลเดือนแห่งความรัก : ตลอดเดือนกุมภาพันธ์ 2566”กับ “หรอยแรงแหล่งใต้” 14จังหวัดTheme12เดือนเที่ยวใต้เที่ยวได้365วันตลอดทั้งปี2566


#โมเมนต์ที่ใช่สร้างได้ไม่ต้องรอ

นายสมชาย ชมภูน้อย ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคใต้  การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้ให้ข่าวว่า กุมภาพันธ์ เดือนแห่งความรัก เป็นเดือนแห่งสีชมพู(ความรัก) ดังนั้น ททท.ภูมิภาคภาคใต้ จึงได้นำเสนอจุดขายท่องเที่ยวThemeเทศกาลเดือนแห่งความรัก14จังหวัดในภาคใต้มาเป็นอีกหนึ่งจุดขายใหม่เพิ่มสร้างคุณค่ามูลค่าเพื่อเป็นสีสันเมืองใต้ตามกระแสท่องเที่ยวตามเทรนด์ในเดือนแห่งความรักเที่ยวได้ตลอดทั้งเดือนกุมภาพันธ์2566ที่สามารถต่อยอดการท่องเที่ยว “365 วัน มหัศจรรย์เมืองไทยเที่ยวได้ทุกวัน” กับ “หรอยแรงแหล่งใต้” 14จังหวัด Theme12เดือนมหัศจรรย์เที่ยวใต้ได้ตลอดปี2566 


หรอยแรงแหล่งใต้ นักท่องเที่ยวมาเที่ยว 14 จังหวัดภาคใต้ในช่วง

“เทศกาลเดือนแห่งความรัก : ตลอดเดือนกุมภาพันธ์ 2566” 

ใน 14 แหล่งท่องเที่ยวใน 14 จังหวัด มาบอกรักปักหมุดในมุมของท่าน โดยถ่ายรูป เช็คอินที่ปักษ์ใต้ พื้นที่จังหวัดไหนก็ได้ หรือ มุมUnseen14จังหวัดภาคใต้ ก็ได้ แล้วติดเครื่องหมายและข้อความว่า #เที่ยวบอกรักปักหมุดที่ปักษ์ใต้ โพสต์อวดกันในเฟสบุ๊คของคุณเอง (เราจะสุ่มมอบของที่ระลึก ททท.ให้ในวันที่ 1 เดือนมีนาคม 2566 โดยทีมงานจะค้นหาผ่าน #เที่ยวบอกรักปักหมุดที่ปักษ์ใต้  มอบกับท่านโดยตรงกับรูปและโพสต์ที่ถูกใจทีมAdminเพจ เที่ยวใต้by ททท.)

ตัวอย่างแนะนำ 14 จังหวัดกับ 14 แหล่งท่องเที่ยวเชิงสัญลักษณ์ Theme #เที่ยวบอกรักปักหมุดที่ปักษ์ใต้ ต้องไปสัมผัสกับแหล่งท่องเที่ยวอันงดงามของภาคใต้ที่มีความหมายพิเศษกับเดือนแห่งความรัก จะไปเป็นคู่รัก หรือ ความรักของคนโสด ก็ได้

14 แหล่งท่องเที่ยว #เที่ยวบอกรักปักหมุดที่ปักษ์ใต้ ในเดือนแห่งความรัก ตลอดทั้งเดือนกุมภาพันธ์ 2566

 ประกอบด้วย Theme 14 จังหวัดดังนี้


#เทศกาลเดือนแห่งความรักชวนคู่รักไปเช็คอินที่ร้านกาแฟมหานครแห่โรบัสต้า
@จังหวัดชุมพร

#เทศกาลเดือนแห่งความรักระนองมหานครน้ำแร่กับKhaoYaFestEcoOfLove ภูเขาหญ้า เมือง @จังหวัดระนอง

#เทศกาลเดือนแห่งความรักเมืองร้อยเกาะเงาะอร่อยหอยใหญ่ไข่แดงแหล่งธรรมะ @สุราษฎร์ธานี

#เทศกาลเดือนแห่งความรัก”กุมภาพันธ์โนราพาหารักษ์” ทะเลน้อย @พัทลุง

#เทศกาลเดือนแห่งความรัก”กุมภาพันธ์มานครฯมาหารัก”วัดสีชมพูหรือวัดยางใหญ่ ตาพรานบุญ ท่าศาลา @นครศรีธรรมราช

#เทศกาลเดือนแห่งความรักเที่ยวใต้ให้ปังต้องพังงา @จังหวัดพังงา

#เทศกาลเดือนแห่งความรัก365วันColorfulภูเก็ตเด็ดทั้งเกาะ @จังหวัดภูเก็ต 

#เทศกาลเดือนแห่งความรักษ์กระบี่GoGreenเมืองท่องเที่ยวใส่ใจสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน @จังหวัดกระบี่

#เทศกาลเดือนแห่งความรักเมืองตรังปังปุริเย่ ตรังยุทธจักรความอร่อย เสน่ห์อันดามัน สวรรค์นักกิน @จังหวัดตรัง

#เที่ยวบอกรักแก้ชงปีกระต่ายทอง8สถานที่เอาใจสายมู หาดใหญ่-สงขลา@จังหวัดสงขลา

#เทศกาลความรักข้ามกาลเวลา ณ สะพานข้ามกาลเวลา อุทยานแห่งชาติเภตรา อำเภอละงู @จังหวัดสตูล

#วาเลนไทน์ทะเลหมอกสองแผ่นดิน มหัศจรรย์สวรรค์แดนใต้ ไปบอกรักษ์ป่าฮาลาบาลา ทามกลางสักขีพยานความรัก “นกคู่รัก” นกเงือก @จังหวัดนราธิวาส

#เช็คอินมัสยิดกลาง ต้นแบบจากอนุสรณ์สถานแห่งความรักจากทัชมาฮาล ประเทศอินเดีย เป็นเสมือนศูนย์รวมจิตใจและความรักผู้นับถือศาสนาอิสลาม@จังหวัดปัตตานี หรือ ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ขอพรศาลเจ้าศักดิ์คู่บ้านคู่เมือง @ปัตตานี

#วาเลนไทน์ในสายหมอก เที่ยวเมืองงามแดนใต้ สกายวอร์ค ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง เบตง @จังหวัดยะลา

Share:

“มินดา มีทรัพย์สิน และ อาจารย์สรา” นักจัดสวนร้อยล้าน เข้ารับพรปีใหม่ จาก คุณสุมณี คุณะเกษม

ในช่วงต้นปีเดือนแรกของปีใหม่ เรียกว่าเป็นช่วงคึกคักเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นช่วงเทศกาลแห่งการส่งมอบความสุข ให้แก่กันและกัน และยังเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของคนไทย ที่นิยมกันทำกันมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเยี่ยมเยื่อน ขอพรผู้หลักผู้ใหญ่ที่รักเคารพ เพื่อเป็นสิริมงคลต่อตนเองในการดำเนินชีวิตและหน้าที่การงาน ในวาระโอกาสพิเศษๆ อย่างงี้

สำหรับ “อาจารย์สรา ทูละมาลย์” เจ้าของฉายา นักจัดสวนร้อยล้าน ก็ถือโอกาสเหมาะ ชวน ดาราสาว “มินดา มีทรัพย์สิน” พร้อมคณะ เข้าพบ  “คุณสุมณี คุณะเกษม” ขอพรเพื่อเป็นสิริมงคล เนื่องในวาระโอกาส ปีใหม่ พร้อมมอบ “เทอราเรียม ( ระบบนิเวศพรรณไม้ขนาดจิ๋ว )” เป็นที่ระลึก แก่ “คุณสุมณี”  โดยความพิเศษของ “เทอราเรียม” นี้ มันสามารถดูและตัวเองได้ โดยไม่ต้องรดน้ำ เพราะระบบนิเวศจะดูแลตัวเอง..จากฝีมือการรังสรรค์ ของ “อาจารย์สรา” และในเร็วๆนี้  ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ นี้ถือฤกษ์เป็นงามยามดี ที่ “อาจารย์สรา ทูละมาลย์” เจ้าของฉายา นักจัดสวนร้อยล้าน จะจัดงานเปิดตัว “ร้านบ้านสรา Garden ” ณ  ตลาดต้นไม้ ทอ.ล็อค27-28 ถนนเดชะตุงคะ แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ

https://www.facebook.com/sarawoot.garden ซึ่งแน่นอนว่า จะมีผู้หลักผู้ใหญ่คนดัง และลูกค้า VIP มาร่วมงานกันอย่างคับคังแน่นอน

Share:

​วธ. เชิญชวนพุทธศาสนิกชนเข้าวัดปฏิบัติธรรมวันธรรมสวนะ “ครอบครัวหิ้วตะกร้า ศรัทธาอิ่มบุญ อุดหนุนชุมชน”

พาครอบครัวเข้าวัดทำบุญ ตักบาตร ฟังเทศน์ เจริญจิตตภาวนา ร่วมอุดหนุนสินค้าวัฒนธรรมของชุมชน

วันที่ 29 มกราคม 2566 ที่วัดบำเพ็ญเหนือ นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เปิดเผยว่า วิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทยในอดีตมีพระพุทธศาสนาเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจ พุทธศาสนิกชนจึงมีศรัทธาในการทำบุญตักบาตร เข้าวัดร่วมกันทั้งครอบครัวเป็นประจำในวันธรรมสวนะหรือวันพระ ซึ่งเป็นประเพณีที่ได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา ได้เห็นถึงความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดโครงการเข้าวัดปฏิบัติธรรมวันธรรมสวนะ “ครอบครัวหิ้วตะกร้า ศรัทธาอิ่มบุญ อุดหนุนชุมชน” 

ในส่วนกลาง มีกำหนดจัดกิจกรรมต้นแบบ ในวันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม 2566 ณ วัดบำเพ็ญเหนือ เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร เชิญชวนข้าราชการ เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป พาครอบครัว ทั้ง ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ และลูก หิ้วตะกร้าใส่ภัตตาหาร ดอกไม้ ธูปเทียน เข้าวัดร่วมทำบุญด้วยการถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ด้วยเอาหารสุขภาพ รักษาศีล และเจริญจิตตภาวนา เติมบุญให้เต็ม เมื่ออิ่มบุญแล้วหิ้วตะกร้าไปอุดหนุนผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมของชุมชนตลาดน้ำขวัญเรียม เป็นการกระจายเกิดกระแสเงินหมุนเวียน เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนและช่วยลดปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกลดโลกร้อน

นายอิทธิพล คุณปลื้ม กล่าวว่า วันพระ มีคำเรียกอีกคำหนึ่งว่า วันธรรมสวนะ (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) มีความสำคัญในทางพระพุทธศาสนา ตามความหมายของวันพระ หมายถึง วันประชุมของพุทธศาสนิกชนเพื่อปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาประจำสัปดาห์ โดยวันพระมีกำหนดตามปฏิทินจันทรคติ โดยมีเดือนละ 4 วัน ได้แก่ วันขึ้น 8 ค่ำ, วันขึ้น 15 ค่ำ, วันแรม 8 ค่ำ และวันแรม 15 ค่ำ วันพระในปัจจุบันเป็นวันสำคัญที่พุทธศาสนิกชนจะได้ถือโอกาสเข้าวัดเพื่อทำบุญถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์และฟังพระธรรมเทศนา ซึ่งการทำบุญนั้นเป็นการสร้างเหตุปัจจัยแห่งความสุขกายสุขใจให้เกิดขึ้นแก่ตัวเองและผู้อื่น ผลที่ได้รับย่อมนำความสุขกายสุขใจมาให้แก่ตนเองและผู้อื่นทั้งในปัจจุบันและอนาคต นอกจากนี้ ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใดๆ อีกด้วย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) กล่าวต่ออีกว่า การจัดโครงการเข้าวัดปฏิบัติธรรมวันธรรมสวนะหรือวันพระนั้นจะมีส่วนช่วยในการส่งเสริมสนับสนุนให้พุทธศาสนิกชนได้เข้าวัดทำบุญเป็นประจำทั้งในวันพระและวันธรรมดาเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความอบอุ่นและเข้มแข็งของสถาบันครอบครัวผ่านการทำกิจกรรมร่วมกันในวันพระ พุทธศาสนิกชนสามารถนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตให้เกิดความสงบสุขแก่ตนเอง สังคม และประเทศชาติ

เมื่อกรมการศาสนาได้ดำเนินการจัดกิจกรรมต้นแบบในส่วนกลางแล้ว จะได้ขอความร่วมมือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้สำนักงานเขตในกรุงเทพมหานครร่วมจัดกิจกรรมดังกล่าวต่อไป ในส่วนภูมิภาค ร่วมกับจังหวัด และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด จัดกิจกรรมต้นแบบวันพระ 4 ภาค และขอความร่วมมือผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดดำเนินกิจกรรมดังกล่าวตามวิถีชีวิตและตามบริบทของแต่ละพื้นที่ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่พุทธศาสนิกชนทั่วไป

Share:

สกสว. พบสื่อมวลชน สร้างความเข้าใจ ต่อบทบาทหน้าที่ และ พันธกิจสำคัญต่อการ ยกระดับศักยภาพและขับเคลื่อนระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)

เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2566 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จัดกิจกรรมพบปะสื่อมวลชน เพื่อสื่อสารบทบาทหน้าที่ของ สกสว. ภายใต้พันธกิจการส่งเสริม สนับสนุน และขับเคลื่อนระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศอย่างสหวิทยาการ เพื่อสร้างองค์ความรู้ พัฒนานโยบายสาธารณะและสนับสนุนการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ในเชิงเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยการกำหนดแผนกลยุทธ์องค์กร และ วิสัยทัศน์ ให้ สกสว. “เป็นองค์กรหลักในการยกระดับศักยภาพและขับเคลื่อนระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) อย่างมีส่วนร่วม เพื่อส่งมอบคุณค่าทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนนำไปสู่การผลักดันให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว” เป็นกรอบแนวทางในการนำองค์กรไปสู่องค์กรสมรรถนะสูงในการขับเคลื่อนนโยบายด้าน ววน. และจัดการงบประมาณของกองทุน ววน. ให้เกิดความคุ้มค่าอย่างมีประสิทธิภาพและธรรมาภิบาล

โอกาสนี้ รศ.ดร.ปัทมาวดี  โพชนุกูล ผู้อำนวยการ สกสว. กล่าวว่า ปี พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการปฏิรูประบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมครั้งสำคัญ ทั้งในมิติของการพัฒนาระบบวิจัยและนวัตกรรม และการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยได้มีการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  (อว.) รวมถึงปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ ของ “สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย”  หรือ “สกว.” มาเป็น “สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เพื่อรับภารกิจสำคัญในการส่งเสริม สนับสนุน และขับเคลื่อนระบบวิจัยและนวัตกรรม (ระบบ ววน.) ของประเทศ ให้ครอบคลุมทุกสาขาการวิจัยและวิทยาการทุกแขนง ตลอดจนสร้างองค์ความรู้พัฒนานโยบายสาธารณะ และสนับสนุนการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ในเชิงเศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน 

โดยการจัดทำแผนด้าน ววน. เพื่อเป็นเครื่องมือกำหนดเป้าหมายการพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมให้สอดคล้องกับเป้าหมายของการพัฒนา “พลิกโฉมให้ประเทศมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและยั่งยืน ยกระดับความสามารถในการแข่งขันด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่า และยกระดับคุณภาพชีวิต ก้าวเข้าสู่ประเทศพัฒนาแล้ว และพร้อมสำหรับโลกอนาคต ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมไทย โดยการสานพลังหน่วยงานในระบบ ววน. รวมทั้งสถาบันอุดมศึกษา สถาบันวิจัย หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม” ซึ่งปัจจุบัน คณะรัฐมนตรี ได้มีการอนุมัติ แผนด้าน ววน. ปี 2566-70 ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้มี ความสามารถในการแข่งขัน และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน พร้อมสู่อนาคต โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและ นวัตกรรม 

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถแก้ไขปัญหาท้าทายและปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม 

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมระดับขั้นแนวหน้าที่ ก้าวหน้าล้ำยุค เพื่อสร้างโอกาสใหม่และความพร้อมของประเทศในอนาคต และ 

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนากำลังคนและสถาบันด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เป็นฐานการ ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดและอย่างยั่งยืน โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม

รวมถึงการบริหารและจัดสรรงบประมาณ ววน. อย่างมีธรรมาภิบาล ภายใต้การกำกับทิศทางของคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) โดยการจัดทำกรอบงบประมาณด้านววน. ของประเทศ ล่าสุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบงบประมาณกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี 2567 จำนวน 31,100 ล้านบาท เพื่อจัดสรรงบประมาณสนับสนุนงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Fund) จำนวนร้อยละ 60-65 ที่ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ของประเทศ ตามแผนด้าน ววน. แก่หน่วยบริหารจัดการทุน (PMU) ทั้ง 9  แห่ง และ งบประมาณเพื่อสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund) จำนวนร้อยละ 35-40 เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของหน่วยงานตามพันธกิจการพัฒนาประเทศ ทั้ง 188 หน่วยงาน ตามที่ สกสว. เสนอผ่านสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ  

นอกจากนี้ สกสว. ยังได้พัฒนาระบบติดตามและประเมินผลการสนับสนุน ววน. ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงจัดทำกลไกและมาตรการเพื่อพัฒนาระบบ ววน. กลไกและมาตรการสำคัญด้านการพัฒนาระบบ ววน. ที่สำคัญ อาทิ การพัฒนาหลักการของมาตรการสนับสนุนทุนสำหรับภาคเอกชน เพื่อพัฒนาผลงานวิจัยและนวัตกรรมตามความต้องการของภาครัฐหรือตามอุปสงค์ของตลาด (Thailand Business Innovation Research, TBIR / Thailand Technology Transfer Research, TTTR) เพื่อเป็นกลไกการให้ทุนไปยังภาคเอกชนโดยอาศัยหลักการของการแข่งขัน (Competitive based) ส่งเสริมให้ได้โครงการที่มีคุณภาพและมีศักยภาพสูง ภายใต้โจทย์ความต้องการจากภาครัฐ หรือภาคเอกชนที่มีตลาดขนาดใหญ่ ให้เกิดผลลัพธ์และผลกระทบสูงต่อประเทศ 

ตลอดจนการผลักดันพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ให้เป็นกฎหมายที่มีความสำคัญเพื่อส่งเสริมให้เกิดการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ อันจะเป็นประโยชน์ทั้งการต่อยอดการวิจัย และต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของประเทศในภาพรวม และท้ายสุดแล้ว การจัดแผนและกรอบงบประมาณด้าน ววน. และการพัฒนากลไกในการดำเนินการต่างๆ จะช่วยชี้นำ และ ขับเคลื่อนให้ประเทศไทย ก้าวพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง กับดักความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่ง และกับดักความไม่สมดุลของการพัฒนา ทั้งในประเด็นการพัฒนาเชิงพื้นที่และการพัฒนาที่ตอบโจทย์สังคม การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยื่น การพัฒนาคนและองค์ความรู้สู่อนาคต 

อย่างไรก็ตาม ผลสำเร็จจากการดำเนินงานของ สกสว. ในปีที่ผ่านๆ มานั้น เกิดขึ้นจากการสนับสนุนเป็นอย่างดียิ่งจากระดับนโยบาย อันได้แก่ สภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ รัฐมนตรีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตลอดจนคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) และคณะกรรมการอำนวยการ สกสว. และพลังความร่วมมือจากภาคีหน่วยงานในระบบ ววน. ร่วมขับเคลื่อน สนับสนุนส่งเสริม และขับเคลื่อนระบบ ววน. ให้เกิดการส่งมอบผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบจากงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป  

Share:

จากพิพิธภัณฑ์มีชีวิตสู่ “เรือนวราพร” พื้นที่สีเขียวแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ. สัมผัสความร่มรื่นพร้อมเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น พร้อมเปิดตัวในงาน Bangkok Design Week 2023

มูลนิธิอินสาท-สอาง และ มูลนิธิหมอฟรานซีส คริสเตียน ขอเชิญคนไทยร่วมเปิด ‘เรือนวราพร’ พื้นที่สีเขียวเล็ก ๆ เพื่อชุมชนในซอยเจริญกรุง 43 และที่ทำการของมูลนิธิฯ เพื่อระลึกถึง ‘อาจารย์วราพร สุรวดี’ ผู้ก่อตั้ง ‘พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก’ แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมท้องถิ่นและวิถีชีวิตของชาวบางกอกในช่วง พ.ศ. 2470-2500 ก่อนจะส่งมอบให้กรุงเทพมหานครฯ เมื่อปี พ.ศ. 2547 โดยมูลนิธิฯ ยังได้สานต่อเจตนารมณ์ของอาจารย์วราพรในการเผยแพร่ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม โบราณคดี พุทธศาสนา สาธารณสุข ตลอดจนสนับสนุนกิจการเพื่อคุณภาพชีวิตและมลภาวะ และร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่น ๆ เพื่อสาธารณะประโยชน์ต่อไป

ภายหลังจากการสูญเสียอาจารย์วราพรในวัย 82 ปี เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560 ทั้งสองมูลนิธิฯ ได้ร่วมกันดำเนินการก่อสร้างเรือนวราพรขึ้นอย่างเรียบง่ายทว่าร่มรื่นสบายตาบนพื้นที่ขนาด 105 ตารางวา ผืนดินที่อาจารย์วราพรและคนไทยร่วมกันบริจาคเงินซื้อที่ดินมูลค่า 40 ล้านบาท เพื่อยุติการก่อสร้างอาคารสูง 8 ชั้น อันจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกอย่างมาก โดยอาจารย์วราพรได้ใช้เงินส่วนตัว 30 ล้านบาท และยอดบริจาคจากคนไทยทั้งประเทศกว่า 10 ล้านบาท (ภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งเดือน) กลายเป็นปรากฎการณ์ครั้งสำคัญที่สะท้อนให้เห็นถึงความหวงแหนของคนไทยที่มีต่อมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยแรงบันดาลใจนั้นนำไปสู่การก่อสร้าง ‘เรือนวราพร’ ที่คนไทยต่างก็เป็นเจ้าของพื้นที่สีเขียวเล็ก ๆ แห่งนี้ร่วมกัน  

โอกาสนี้ มูลนิธิฯ จึงได้จัดแสดงนิทรรศการเพื่อบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของเรือนวราพรไว้อย่างเรียบง่าย ภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘เมือง-มิตร-ดี’ สะท้อนให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของย่านการค้าเก่าแก่ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ผสมผสานความเป็นพหุวัฒนธรรมของย่านเจริญกรุง ตลาดน้อย ทรงวาด และพื้นที่ใกล้เคียงได้อย่างมีเสน่ห์และร่วมสมัย โดยมี ‘กุลยา กาศสกุล’ กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิอินสาท-สอาง และมูลนิธิหมอฟรานซีส คริสเตียน เป็นภัณฑารักษ์

ผู้สนใจสามารถเข้าชมเรือนวราพรได้ ภายในงาน Bangkok Design Week 2023 ระหว่างวันที่ 4-12 กุมภาพันธ์ 2566 ติดกับพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก ในซอยเจริญกรุง 43 หลังจากนั้นทางมูลนิธิฯ จะดำเนินการก่อสร้างพร้อมตกแต่งให้สมบูรณ์ ติดตามความเคลื่อนไหวของเราได้ทาง https://www.facebook.com/BkkMuseum

ภาพถ่ายโดย : สมัชชา อภัยสุวรรณ

Share:

Recent Posts

ค้นหาบล็อกนี้

Contact Us ::

📲 (+66) 081 4345154
✉️ Insightoutstory@gmail.com

Add Line📲 Click 👇👇

Translate

🚉 ช.ส.ท.พาเที่ยว นครฯ

Review By Nichapa

POPULAR NEWS

Fanpage Facebook

ป้ายกำกับ

คลังบทความของบล็อก