วช. ผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การบริหารจัดการน้ำ และจังหวัด 4.0 อย่างยั่งยืน

ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่าสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นหน่วยงานให้ทุนวิจัยหลักของประเทศและส่งเสริมการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน เป็นหน่วยงานกลางที่ประสาน เชื่อมโยงในการทำงานร่วมกันบนฐานงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม และโดยที่ประเทศไทยประสบกับปัญหาซ้ำซากจากเหตุการณ์น้ำท่วมและการขาดแคลนน้ำเป็นประจำทุกปีจนส่งผลกระทบอย่างมากต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
ตลอดจนวิถีชีวิตและสุขอนามัยของประชาชน ทั้งนี้เนื่องจากการขาดเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำให้สัมพันธ์กับสภาพภูมิประเทศ ลักษณะทางอุทกวิทยาและรูปแบบการใช้น้ำของเกษตรกรอย่างแท้จริง มีการบริหารจัดการน้ำซึ่งไม่สอดคล้องกับรูปแบบวิถีความเป็นอยู่ของประชาชนมาตรการต่าง ๆ ไม่เป็นที่ยอมรับและไม่ได้รับความร่วมมือจากภาคประชาชนในการปฏิบัติตามคำแนะนำ การขาดเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำให้สัมพันธ์กับสภาพภูมิประเทศลักษณะทางอุทกวิทยาและรูปแบบการใช้น้ำของเกษตรกรอย่างอย่างแท้จริง
ซึ่งในการดำเนินการดังกล่าวจะต้องมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำ ดังนั้น วช.จึงได้กำหนดประเด็นในการศึกษาวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวซึ่งได้แก่ การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีช่วยในการจัดการน้ำ (การส่งน้ำ การคาดการณ์ฝนและระบบการเตือนภัยที่สื่อสารสองทาง) และนวัตกรรมใหม่ในการประหยัดน้ำ, การวิจัยการจัดการน้ำให้สมดุลทั้งด้านอุปสงค์และอุปทานและเกิดการประหยัดน้ำในภาพรวมของประเทศ การศึกษาศักยภาพในการประหยัดน้ำที่เป็นปัจจุบันและอนาคต
นอกจากนี้ วช. ยังให้ความสำคัญในการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ที่ต้องเร่งดำเนินการภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติใน 5 ปีแรกโดยได้กำหนดประเด็นสำคัญที่ต้องรีบดำเนินการ ได้แก่ การปรับระบบและกลไกบริหารราชการแผ่นดินและการกระจายอำนาจ, การกระจายศูนย์กลางความเจริญและพัฒนาพื้นที่, การพัฒนาประสิทธิภาพและธรรมาภิบาลของการบริหารงบประมาณเชิงพื้นที่, การพัฒนาระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่,และการพัฒนาโครงสร้างการผลิตความรู้และกำลังคนเพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่
ผลจากการดำเนินงานการบริหารจัดการน้ำด้วยวิจัยและนวัตกรรม ทำให้ได้ระบบโปรแกรมช่วยตัดสินใจบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการและผังระบบโครงข่ายการกระจายและระบายน้ำ ทำให้สามารถวางแผนส่งน้ำเพื่อการเกษตรล่วงหน้า 1 ปีอย่างแม่นยำ ได้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการช่วยส่งน้ำที่ทันสมัยและบริหารเขื่อนที่ มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังได้ฐานข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำที่ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลและใช้ในการเพิ่มความถูกต้องของแบบจำลองและการคาดการณ์ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการคาดการปริมาณฝนล่วงหน้าและระบบแจ้งเตือนที่มีความละเอียดในระดับพื้นที่
ทั้งนี้ วช. ได้มีการขับเคลื่อนบูรณาการเพื่อการบริหารจัดการน้ำให้ยั่งยืนโดยการพัฒนา Knowledge platform เพื่อนำมาขับเคลื่อนสังคม, การขยายผลบทเรียนความสำเร็จการแก้ไขปัญหาน้ำ เพื่อสานเครือข่ายภาคประชาชนและกลุ่มผู้ใช้น้ำให้เกิดความเข้มแข็งและมีพลังร่วมในกระบวนการนโยบายและการแก้ไขปัญหาน้ำ, การขับเคลื่อนกระบวนการนโยบายสาธารณะเรื่องน้ำในประเด็นสำคัญ ๆ เช่น การจัดระเบียบองค์กรใหม่ กฎระเบียบในการแบกรับค่าใช้จ่ายในการใช้น้ำสาธารณะ หรือความเท่าเทียมในการใช้น้ำ การจัดเก็บค่าน้ำ การดูแลคุณภาพน้ำที่ใช้ภาคการเกษตรและอื่น ๆ เช่น การทำประมง, และการวิจัยความรู้สังคมและการบริหารจัดการความขัดแย้งทางสังคมผนวกไว้เป็นส่วนของการเรียนการสอนเรื่องน้ำและทรัพยากรน้ำ 
Share:

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Recent Posts

ค้นหาบล็อกนี้

Contact Us ::

📲 (+66) 081 4345154
✉️ Insightoutstory@gmail.com

Add Line📲 Click 👇👇

Translate

🚉 ช.ส.ท.พาเที่ยว นครฯ

Review By Nichapa

POPULAR NEWS

Fanpage Facebook

ป้ายกำกับ

คลังบทความของบล็อก