ฉลอง 16 ปี “ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ” จัดใหญ่ สัปดาห์วิทยาศาสตร์ฮาลาล 2562 และเปิดตัวแอ๊พพลิเคชั่น “ฮาลพลัส”

ฉลอง 16 ปี 

“ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ” 

จัดใหญ่สัปดาห์วิทยาศาสตร์ฮาลาล 2562 
และเปิดตัวแอ๊พพลิเคชั่น
 “ฮาลพลัส” 
หวังช่วยพัฒนาศักยภาพ
การแข่งขันฮาลาลไทบขึ้น
เป็นอันดับหนึ่งบนเวทีโลก
ทุกวันที่ 13 สิงหาคมของทุกปี ถือเป็นวันครบรอบการจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศวฮ.) และในปีนี้เป็นการครบรอบ 16 ปี แห่งการจัดตั้ง ศวฮ. ซึ่ง ศวฮ.ได้มีนโยบายให้จัดงาน “สัปดาห์วิทยาศาสตร์ฮาลาล” ขึ้น เพื่อจัดกิจกรรมวิชาการมอบให้แก่เยาวขน สร้างเวทีเพื่อพัฒนานักเรียน นักศึกษา ให้สามารถสร้างนวัตกรรมตามบริบทของวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮาลาลเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนนำพาประเทศไทยสู่ Thailand Halal 4.0
รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เนื่องในโอกาสการครบรอบ 16 ปี ของการจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้กำหนด “สัปดาห์วิทยาศาสตร์ฮาลาล” (Halal Science Week 2019) ระหว่างวันที่ 1 – 8 สิงหาคม 2562 เพื่อกระตุ้นและสนับสนุนการเรียนการสอนในด้านวิทยาศาสตร์ให้เป็นที่ตระหนักมากขึ้น รวมถึงสนับสนุนการสร้างนักวิทยาศาสตร์มุสลิมรุ่นใหม่ในสังคม และส่งเสริมให้องค์ความรู้ในด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง พัฒนาศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลไทยให้เป็นผู้นำในเวทีโลก
โดยกิจกรรมตลอดสัปดาห์ประกอบไปด้วยกิจกรรมดีๆ มากมาย อาทิ กิจกรรม Halal Science Camp & Quiz Bowl การแข่งขันตอบปัญหาด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาล, การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮาลาล Halal Science Competition ในหัวข้อ “นวัตวิถีฮาลาล นำไทยสู่เวทีโลก”, เดิน-วิ่งการกุศล Halal Run For All เดิน-วิ่งการกุศล 16 ปี ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, Public Hearing การประชาพิจารณ์มาตรฐานสากล
และปิดท้ายกิจกรรมในวันที่ 8 สิงหาคม 2562 กับนิทรรศการสิ่งต้องห้ามและต้องสงสัยตามหลักศาสนบัญญัติอิสลาม Exhibition on Don’ts and Doubts วัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลการเรียนรู้ในงานด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลและเพื่อประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจ รวมถึงนิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้เรียนรู้และเป็นแหล่งอ้างอิงจากข้อมูลที่ได้จัดทำขึ้น ตอบสนองนโยบายของรัฐบาล ที่มุ่งเน้นพัฒนาอุตสาหกรรม ฮาลาลของประเทศไทย ให้มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยนิทรรศการประกอบด้วย 4 โซน คือ โซนสิ่งต้องห้ามตามมาตรฐานอาหารฮาลาล, โซนผลิตภัณฑ์ที่มีโอกาสเสี่ยงการปนเปื้อนในปัจจุบัน, โซนวัตถุดิบ วัตถุเจือปนอาหารและสารเคมี และโซนสิ่งของ เครื่องใช้และสินค้าอุปโภค
และเพื่อสนับสนุนงานการรับรองฮาลาลของสกอท.และสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด (สกอจ.) ศวฮ.ได้พัฒนางานการมาตรฐานฮาลาล (Halal standardization) ขึ้นเพื่อสร้างความสะดวกต่อภาคอุตสาหกรรมและพาณิชย์ในการนำมาตรฐานฮาลาลไปสู่การปฏิบัติในภาคการผลิตงานการมาตรฐานฮาลาลดังกล่าวได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ ดังนี้ 
(1) การพัฒนาระบบ Halal-HACCP หรือ “ฮาลาล-ฮาสัพ” โดย ศวฮ.ร่วมกับสถาบันอาหารใน พ.ศ.2542 
(2) การพัฒนาระบบ Halal-GMP/HACCP หรือ “ฮาลาล-จีเอ็มพี-ฮาสัพ” โดย ศวฮ. ร่วมกับ สกอท.ใน พ.ศ.2550 
(3) การพัฒนาระบบ HAL-Q หรือ “ฮาลคิว” ขึ้นโดย ศวฮ. ใน พ.ศ.2553 
(4) การพัฒนาระบบ HAL+ หรือ “ฮาลพลัส” โดย ศวฮ.ร่วมกับ สมฮท.และ สกอท. ใน พ.ศ.2562 โดยทำการเปิดตัวในวาระครบรอบ 16 ปี ศวฮ.
งานการมาตรฐานฮาลาลได้รับการพัฒนามาตลอดระยะเวลามากกว่า 16 ปี เป็นการลดระยะเวลาที่ใช้ในการวางระบบ Halal-HACCP จาก 1-2 ปีเป็นน้อยกว่าหนึ่งปีด้วยระบบ Halal-GMP/HACCP ก่อนพัฒนาเป็นระบบ 4x4 ใช้เวลา 3-5 เดือนด้วยระบบ HAL-Q โดยมีภาคอุตสาหกรรมและพาณิชย์เข้าร่วมจัดวางระบบกว่า 1,000 สถานประกอบการ เมื่อโลกเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีเต็มตัวกระทั่งเข้าสู่ยุค “ดิสรัพทีฟเทคโนโลยี” (Disruptive Technology) ศวฮ.ที่สะสมประสบการณ์การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตในระยะหนึ่งจึงได้พัฒนาระบบที่เรียกว่า “ฮาลพลัส” ขึ้นเพื่อร่นระยะเวลาการวางระบบฮาลคิวในภาคอุตสาหกรรมและพาณิชย์มีการพัฒนาระบบที่เรียกว่า SPHERE หรือ System Protocol for Halal Electronic Resources Exchange เชื่อมโยงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของภาคส่วนต่างๆในงานฮาลาลตั้งแต่ภาคผู้ประกอบการ ภาคองค์กรศาสนาอิสลาม ภาควิชาการ ภาคราชการ ภาคธุรกิจโครงข่าย ภาคผู้บริโภค ซึ่งส่วนหนึ่งของงานคือการประยุกต์ระบบไอทีเข้ากับงานการมาตรฐานฮาลาลฮาลคิว ครอบคลุมการพัฒนาแอ็พ หรือแอ็พพลิเคชั่น (App หรือ Application) เพื่อสร้างความสะดวกแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสะดวกทางด้านการซื้อขายระหว่างผู้ประกอบการหรือการจับคู่ธุรกิจ (Business matching) นำเอากิจกรรมต่างๆที่ ศวฮ.ร่วมกับ สกอท.และ สมฮท.ดำเนินการ เช่น การจัดงาน Thailand Halal Assembly การจัดประชุมวิชาการ Halal Certification Bodies Convention และ International Halal Science and Technology Conference (IHSATEC) ฯลฯ เข้าร่วมเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมและพาณิชย์ของประเทศ
ซึ่งเชื่อมั่นว่าแอ็พ “ฮาลพลัส” จะช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันของฮาลาลประเทศไทยที่พัฒนาเข้าสู่ระบบ  “ฮาลาลเพื่อทุกคน” ขยายฐานผู้บริโภคจากร้อยละ 17 ของตลาดอาหารโลกสู่ร้อยละ 90 อันเป็นแนวโน้มของเศรษฐกิจฮาลาลที่ประเทศต่างๆทั้งที่เป็นมุสลิมและมิใช่มุสลิมเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มตัวในขณะนี้  

Share:

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Recent Posts

ค้นหาบล็อกนี้

Contact Us ::

📲 (+66) 081 4345154
✉️ Insightoutstory@gmail.com

Add Line📲 Click 👇👇

Translate

🚉 ช.ส.ท.พาเที่ยว นครฯ

Review By Nichapa

POPULAR NEWS

Fanpage Facebook

ป้ายกำกับ

คลังบทความของบล็อก