ประวัติ ดอยนางนอน “นางนอนแนบสุทธา แหงนมองฟ้าเบื้องบน” อ.แม่สาย จ.เชียงราย



ใครมีโอกาสเดินทางไปแม่สายก็คงจะคุ้นตากับลักษณะของภูเขาและถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน ลักษณะที่เห็นจะเป็นส่วนมือขวา ส่วนหัว หน้าอก และลำตัวอย่างชัดเจน ดอยนางนอน เป็นทิวเขารูปผู้หญิงสยายผมนอนทอดกายยาวขนานไปกับถนนในเขตอำเภอแม่จันและอำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงรายเป็นที่ตั้งของพระธาตุดอยตุง สำหรับเทือกเขาดอยนางนอนนี้ มีจุดสูงสุดคือ ผาช้างมูบ ซึ่งมีความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 830 เมตรสภาพพื้นที่ทั่วไปของดอยนางนอนเป็นภูเขาหินปูน ซึ่งมีถ้ำอยู่หลายแห่ง ดังนั้นพื้นที่ทางตะวันตกจึงเป็นที่สูงและลาดลงไปทางตะวันออกเป็นพื้นที่การเกษตร ไปจนจรดเขตอำเภอเชียงแสน ส่วนทางทิศใต้เป็นที่ราบติดกับอำเภอแม่จันและอำเภอแม่ฟ้าหลวง




สภาพถ้ำมีปากถ้ำที่สูง โถงถ้ำแรกที่เปิดกว้างระดับพื้นดินต่ำกว่าปากถ้ำเป็นร่องทางน้ำที่ไหลออกจากถ้ำ โดยมีร่องน้ำผ่านระหว่างโถงที่ 1 และ ทางขวามือของร่องน้ำจะเป็นโนนดินที่สูงขึ้น มีร่องรอยหลุมยุบ และ เป็นโถงที่ 2 ต่อจากโถงที่ 1 มีร่องรอยหินถล่มด้านซ้ายมือ สิ้นสุดบันไดจากบริเวณปากถ้ำ เป็นทางเดินดินสั้น ๆ ต่อจากนั้นเป็นขั้นบันไดที่เทด้วยปูนซิเมนต์จำนวน 5-6 ขั้น ยกระดับขึ้นทอดเข้าสู่ความยาวของตัวถ้ำ โดยที่ในช่วงฤดูฝนน้ำจะท่วมภายในถ้ำ และ บริเวณร่องน้ำโถงที่ 1 ไม่พบหลักฐานทางโบราณคดี ภายในถ้ำ
ที่ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยนางนอน มีเนื้อที่ประมาณ 5,000 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2529 ครอบคลุมหัวดอยนางนอน อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดอยนางนอน ท้องที่รับผิดชอบของตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีเนื้อที่ 8 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 5,000 ไร่ 


มีพื้นที่สำหรับบริการนักท่องท่องอยู่ 2 แห่ง คือ
1.บริเวณวนอุทยานถ้ำหลวง มีเนื้อที่ 12 ไร่ ตั้งอยู่ท้องที่บ้านน้ำจำ ต.โป่งผา อ.แม่สาย จ.เชียงราย เป็นที่ตั้งสำนักงาน
2.บริเวณขุนน้ำนางนอน มีเนื้อที่ 8 ไร่ ตั้งอยู่ท้องที่บ้านจ้อง ต.โป่งผา อ.แม่สาย จ.เชียงราย



วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอนมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
– ทิศเหนือ จดดอยจ้องและห้วยน้ำจอง
– ทิศใต้ จดดอยผู้เฒ่าและลำห้วยน้ำค้าง
– ทิศตะวันออก จดบริเวณพื้นที่ราบที่อยู่ข้างๆภูเขาทั้งหมด
– ทิศตะวันตก จดภูเขาลูกใหญ่ซึ่งทอดมาจากชายแดนพม่า


ตำนานดอยนางนอน
เรื่องตำนานดอยนางนอนนี้ เล่ากันว่า นานมาแล้ว ณ เมืองเชียงรุ้ง สิบสองปันนา มีเจ้าหญิงองค์หนึ่ง มีพระสิริโฉมงดงามเป็นอย่างยิ่ง ได้แอบรักกับชายเลี้ยงม้าในวัง อันเป็นการผิดกฏตามโบราณราชประเพณี จึงจำต้องหลบหนีตามกันมา จนกระทั่งถึงที่ราบแห่งหนึ่งใกล้แม่น้ำโขง ช่วงเวลาที่ทั้งคู่หลบหนีมาด้วยกันนั้น เจ้าหญิงก็ทรงพระครรภ์ได้หลายเดือนแล้ว จึงเสด็จต่อไปไม่ไหว นางจึงบอกพระสวามีว่าจะประทับรออยู่ที่นี่ ส่วนสวามีก็บอกนางว่าจะไปหาอาหารมาให้ อย่าไปไหนนะ ว่าแล้วชายหนุ่มก็เดินทางออกไปหาอาหารในป่านั้น แต่ทว่าชายหนุ่มนั้นจากไปนานแล้วไม่กลับมาเสียที พอเจ้าหญิงมาได้ทราบข่าวอีกที ปรากฏว่าชายหนุ่มผู้นั้นถูกฆ่าโดยทหารของพระราชบิดาของเจ้าหญิง ซึ่งได้สะกดรอยตามมาตลอดนั่นเอง ด้วยความเสียพระทัย นางจึงใช้ปิ่นปักผม แทงพระเศียรของพระองค์จนโลหิตไหลออกมาเป็นสายจนถึงแก่พระชนม์ชีพ และสายพระโลหิตที่ได้หลั่งไหล่ออกมานั้นได้กลายมาเป็นต้นแม่น้ำแม่สายในทุกวันนี้ 



ส่วนพระวรกายของพระองค์ที่นอนเหยียดยาวจาก ทิศใต้จรดทิศเหนือ ก็กลายเป็นดอยนางนอนจวบจนทุกวันนี้ และส่วนของพระอุทร(ท้อง)ก็เป็นดอยตุงเส้นทางที่จะไปยังอำเภอแม่จันนั้น มีขุนเขาทอดตัวคล้ายผู้หญิงนอนเหยียดยาว จึงเรียกว่า ดอยนางนอน เดิมชื่อ ดอยตายสะ หรือ ดอยสามเส้า ซึ่งสอดคล้องกันกับตำนานลาวจก เทวบุตรอย่างแนบแน่น ดอยส่วนที่ศีรษะเรียกว่า ดอยจ้อง หรือดอยจิกจ้อง (เดิมเรียกดอยนี้ว่า ดอยท่าหรือดอยต้า) เป็นดอยของลูกชายปู่เจ้าลาวจกที่รอคอยพ่อ ดอยลูกถัดมาเรียกว่า ดอยย่าเฒ่า ซึ่งเป็นภรรยาของปู่เจ้าลาวจก ส่วนดอยอีกลูกหนึ่งคือ ดอยดินแดง หรือดอยปู่เจ้าลาวจก หรือเป็นที่รู้จักกันดีในนามของ ดอยตุง เชื่อกันว่า ดอยทั้ง 3 นี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของลาวจักราช ผู้เป็นต้นราชวงศ์ของพญามังราย ก่อนที่จะเคลื่อนย้ายมาสร้างเมืองหิรัญนครเงินยาง เหนือดอยดินแดงเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุดอยตุง อันถือเป็นปฐมธาตุแห่งแรกของภาคเหนือ

ดอยนางนอน

ขุนคีรีนี่หรือคือซากรัก                     
หญิงอกหักธิดาสาวเจ้าเชียงรุ้ง

รักวิบัติจึงพลัดพรากหนีจากกรุง      
นางหมายมุ่งมาถิ่นดินแดนไทย

ทัพบิดายกมาทันหวาดหวั่นจิต       
คร่ำครวญคิดคิดถึงคนรักจักทำไฉน

คืนพม่าท่าจะม้วยด้วยอาลัย            
ยอมตักษัยให้รู้อยู่เชียงราย

นางใช้ปิ่นปักผมทิ่มแทงขมับ          
ชีพลาลับเลือดกระเซ็นเป็นเส้นสาย

เป็นขุนน้ำนางนอนไหลไม่ขาดคลาย     
ร่างวางวายกลายเป็นเขาแสนเศร้าเอย

อาจารย์พรชัย เขียวสาคู






ขอบคุณที่มา ::  maesaibanrao ,เชียงใหม่นิวส์ , วิกิพีเดีย
Share:

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Recent Posts

ค้นหาบล็อกนี้

Contact Us ::

📲 (+66) 081 4345154
✉️ Insightoutstory@gmail.com

Add Line📲 Click 👇👇

Translate

🚉 ช.ส.ท.พาเที่ยว นครฯ

Review By Nichapa

POPULAR NEWS

Fanpage Facebook

ป้ายกำกับ

คลังบทความของบล็อก