เปิดตัวโมเดลปัญญาประดิษฐ์ภาษาไทยขนาดใหญ่ (OpenThaiGPT) ครั้งแรกในประเทศไทย และรวมผู้เชี่ยวชาญชั้นแนวหน้าในวงการ AI ร่วมบรรยาย เสวนา และจัดแสดงผลงานด้านปัญญาประดิษฐ์ในงาน AI Thailand Forum 2023 ระหว่างวันที่ 16 – 17 สิงหาคม 2566 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

สมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIEAT) ร่วมมือกับสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIAT) และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA)  เป็นเจ้าภาพจัดงาน AI Thailand Forum 2023 ระหว่างวันที่ 16 – 17 สิงหาคม 2566 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (QSNCC) กรุงเทพมหานคร โดยมีเป้าหมายจัดแสดงความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านปัญญา ประดิษฐ์  แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ขับเคลื่อน รวมคนรุ่นใหม่ และสร้างระบบนิเวศที่ส่งเสริมการพัฒนา เทคโนโลยี และ นวัตกรรมด้านปัญญาประดิษฐ์ของประเทศไทย

ดร. กอบกฤตย์ วิริยะยุทธกร นายกสมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIEAT) และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไอแอพพ์เทคโนโลยี จำกัด หัวเรือผู้จัดงาน AI Thailand Forum 2023 และเป็นหัวทีมพัฒนาโมเดลปัญญาประดิษฐ์ภาษาไทยขนาดใหญ่ (OpenThaiGPT) ได้กล่าวถึง ความสำคัญของ โลก ยุคใหม่ ที่มี AI เป็นส่วนประกอบสำคัญชีวิต 

ตามที่เรารู้ดีอยู่แล้วว่า AI กำลังมีบทบาทที่สำคัญขึ้นในทุกด้านของชีวิต ไม่ว่าจะเป็น ในภาคอุตสาหกรรม, ภาคการศึกษา, หรือแม้แต่ในชีวิตประจำวัน เราเห็นถึงความสำคัญในการ ที่ทุกคน ควรจะได้รับ ความรู้และความ เข้าใจเกี่ยวกับ AI และวิธีการที่สามารถ ช่วยเราใน การพัฒนาและ เพิ่มประสิทธิภาพของงานที่เราทำให้ดียิ่งขี้น  ในงานจะมีการเปิดตัว OpenThaiGPT ซึ่งเราได้รวบรวม อาสาสมัครนักปัญญาประดิษฐ์รุ่นใหม่ และเริ่มทำ MOU กับหลายหน่วยงานเช่น NECTEC สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIAT) เพื่อร่วมกันแชร์ข้อมูลร่วมกัน สร้างเป็นโมเดลภาษาขนาดใหญ่ สนับสนุนภาษาไทย ที่ถูกสร้างขึ้นโดยการทำ Fine-Tuning จาก Llama v2 เพื่อให้เข้าใจ ภาษาไทย โมเดลนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่มีในการประยุกต์ใช้ AI ในการทำงาน ต่าง ๆ ที่ต้องใช้ภาษาไทย เช่น การสร้าง chatbot ที่สามารถตอบคำถามภาษาไทยได้แม่นยำ การสร้างระบบสนับสนุน การตัดสินใจที่ใช้ภาษาไทย หรือแม้แต่การสร้าง AI ที่สามารถเขียน บทละครเรื่องราวที่มีความซับซ้อนในภาษาไทย โดยเปิดเป็นโอเพนซอร์สจะจึงสามารถช่วยสร้างความ เปลี่ยนแปลงที่ดีและสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยได้อย่างมากมาย”

ดร.ชาญวิทย์ บุญช่วย อุปนายกสมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIEAT) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทไซแนปส์ (ประเทศไทย) จำกัด  และกรรมการจัดงาน AI Thailand Forum 2023 กล่าวว่า

“กิจกรรมสัมมนาและแสดงสินค้าบริการด้าน AI ครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งแรกและใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของเครือข่ายภาคเอกชน ภาครัฐ มหาวิทยาลัย และหน่วยงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างชุมชน สร้างสรรค์ และเครือข่ายของผู้ทำงานและผู้สนใจด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ร่วมกันขับเคลื่อนอุตสาหกรรม AI ในประเทศให้ขยายและเติบโตมากขึ้น กิจกรรมใน AI Thailand Forum 2023 อัดแน่นด้วยข้อมูล AI ในมิติต่างๆ เป็นการเพิ่มพูนความรู้และอัปเดทเทรนด์ใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังมีโอกาสแลกเปลี่ยนมุมมองทำ ความรู้จัก กับผู้เชี่ยวชาญตัวจริงในวงการ รวมถึงรับชมผลิตภัณฑ์และบริการจากภาครัฐ ธุรกิจ และ Startup ด้าน AI”

ในส่วนของผู้สนับสนุนหลักของงาน AI Thailand Forum 2023 ได้แก่ บริษัท รุ่งเรืองตลอดไป จำกัด (มหาชน) และ กสิกร บิซิเนส เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) ซึ่งผู้บริหารได้แบ่งปันมุมมองดังต่อไปนี้

คุณจรัญพัฒณ์ บุญยัง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท รุ่งเรืองตลอดไป จำกัด (มหาชน) ผู้พัฒนา Alisa ผู้ช่วยอัจฉริยะที่เบื้องหลังการทำงานใช้เทคโนโลยี Generative AIกล่าวถึงการให้ การสนับสนุนในการจัดงาน 

“ยินดีมากๆที่ประเทศไทยเห็นความสำคัญของ AI และมีผู้ที่มีส่วนร่วมจากทั้ง AIEAT, AIAT และ NIA ร่วมกันจัดงาน AI Thailand Forum 2023 ขึ้นมา ทั้งนี้เนื่องจาก Glory Forever PCL. มีวิสัยทัศน์หลัก คือเพื่อให้ผู้คนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ ได้อย่างทั่วถึง และปลอดภัย โดยเร็วที่สุด เราจึงยินดีที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนและให้ความสำคัญอย่างมากกับอุตสาหกรรมที่ เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยี โดยเฉพาะด้าน AI กับ Quantum Computer และเชื่อว่าเราต้อง ร่วมช่วยกันทั้งในด้านของการพัฒนาและสนับสนุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่ ให้เกิดขึ้น ได้จริงอย่างมั่นคงและยั่งยืน” 

ดร.ทัดพงศ์ พงศ์ถาวรกมล กรรมการผู้จัดการกสิกร บิซิเนส เทคโนโลยี กรุ๊ป หรือ KBTG ผู้อยู่เบื้องหลังการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ กล่าวถึงการเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขัน และการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ผ่านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ 

ทาง KBTG มองว่า AI เป็นเทคโนโลยีที่สำคัญ และทวีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในแง่ของการ พัฒนาความเป็นอยู่ของมนุษย์และสังคมให้ดีขึ้น รวมไปถึงการสร้างผลิตผล และ ขีดความสามารถcในการแข่งขันในระดับองค์กรและประเทศ การลงทุนในด้าน AI ของ KBTG มีหลายรูปแบบ มีทั้งการทำการวิจัยและพัฒนาภายในองค์กร (in-house R&D) การร่วมพัฒนาความ สามารถ กับหน่วยงานและบริษัทอื่นๆ (AI co-research) รวมไปถึงการลงทุนในภาคเอกชน (venture investment) ตัวอย่างเช่น การพัฒนาระบบ face recognition ในบริษัท Kasikorn Labs, การร่วมพัฒนาระบบประมวลผลภาษาไทย (Thai NLP) กับ NECTEC”

ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวเพิ่มเติมว่า “NIA มีบทบาทเป็นผู้กำหนดทิศทางนวัตกรรม (Focal Conductor) และอำนวยความสะดวกให้ระบบนิเวศนวัตกรรมเอื้อต่อศักยภาพการทำงาน โดยมีเป้าหมาย ขับเคลื่อนดัชนีนวัตกรรมประเทศไทยสู่อันดับที่ 30 ในปี พ.ศ. 2573 ทั้งนี้ หนึ่งในแนวทางสำคัญคือ สร้างและยกระดับผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม (IBEs) ที่มีความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการประยุกต์ใช้ AI ในการพัฒนานวัตกรรมในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น เกษตร อาหาร การแพทย์ การท่องเที่ยว และซอฟต์พาวเวอร์ ผ่านกิจกรรมภายใต้ 3G ได้แก่ Groom การจุดประกายแนวคิด ร่วมกับการบ่มเพาะให้เกิดเป็นธุรกิจที่เติบโต เช่น โครงการ AgTech AI Incubation Grant การสนับสนุนเงินทุนพัฒนาต่อยอดในการทำต้นแบบเพื่อทดสอบ ยืนยัน และสร้างต้นแบบ 

โดยเป็นเงินให้เปล่า 1.5 – 5 ล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมามีหลากหลายธุรกิจนวัตกรรมที่ใช้ AI ได้รับทุนสนับสนุน และต่อยอดด้วย Growth การเร่งสร้างธุรกิจให้เกิดการเติบโตแบบ ก้าวกระโดด ร่วมกับการสร้างโอกาสให้เกิดการจับคู่ธุรกิจ การเชื่อมต่อกับนักลงทุน ดังเช่นโครงการเชื่อมต่อสตาร์ทอัพ AI ในพื้นที่ EEC จนสามารถขยายผลเติบโต ได้รับการร่วมลงทุนจากบริษัทขนาดใหญ่ ทั้งนี้ จากข้อมูลสถิติและแนวโน้มด้านอุตสาหกรรม AI ของ Forbes  คาดว่าตลาดด้าน AI โดยรวมจะสูงถึง 407 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี พ.ศ. 2570 จึงนับเป็นโอกาสที่ดี หากประเทศไทยเร่ง ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมในด้านนี้ ซึ่งนอกจากจะช่วยสร้าง ศักยภาพการแข่งขันของประเทศให้ก้าวทันตลาดโลกแล้ว ยังเป็นการสร้าง ให้เกิดศักยภาพ ของผู้ประกอบการฐานนัวตกรรมของไทยอีกด้วย”

ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ อุปนายกสมาคม และรักษาการนายกสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIAT) และ หัวหน้ากลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค เชิญชวนผู้ที่สนใจมาร่วมงานที่สนใจ AI มาเปิดมุมมอง จากการเสวนา กิจกรรม และบูธที่แสดงถึงความก้าวหน้าของ AI จากหลายภาคส่วนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย 

AI Thailand Forum ถือเป็นการรวมตัวของบริษัท หน่วยงานภาครัฐ ต่างๆ ที่ได้มีการทำงาน ทางด้าน AI และรวมตัวของผู้ที่ผ่านการปฏิบัติด้าน AI อย่างเข้มข้น เข้ามาแลกเปลี่ยนกัน การจัดงาน ครั้งนี้เป็นการจัดครั้งแรกของประเทศไทย โดยสมาคม AIAT, AIEAT และ NIA ผนึกกำลังกัน ถือว่าเป็นการเปิดมิติเทคโนโลยีและนวัตกรรม AI ของประเทศไทยอย่างครบครัน”

ดร.สรรพฤทธิ์ มฤคทัต กรรมการและประธานวิชาการสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIAT) และหัวหน้าทีมวิจัยการประมวลผลและเข้าใจภาพ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์ แห่งชาติ หรือ เนคเทค 

“กิจกรรมที่เกิดขึ้นในงาน AI Thailand Forum 2023 จะเป็นจุดเริ่มต้นของการเติบโต ของอุตสาหกรรม AI ของประเทศไทย งานนี้เกิดจากความร่วมมือและความตั้งใจของพันธมิตร ทั้งภาครัฐและเอกชนที่ร่วมกันขับเคลื่อนระบบนิเวศด้านปัญญาประดิษฐ์ของประเทศ ก่อให้เกิดการพัฒนาด้านสังคม ชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย และการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ที่สามารถเกิดขึ้นจริงและสร้างสรรค์ด้วยปัญญาของคนไทย

ที่ผ่านมา AIAT มีโครงการใหญ่คือ Super AI Engineer ซึ่งช่วงนี้ก็ถือว่าครบปีที่ 3 พอดี ซึ่งเราก็มีบูธแสดงผลงานของผู้เข้าร่วมโครงการนี้ด้วย โครงการนี้เป็นการอบรม AI ที่คนทั่วไปที่มีความรู้ programming พื้นฐานก็สามารถเข้าร่วมได้ นักเรียนนักศึกษาก็เข้าร่วมได้ รวมถึงคนที่ต้องการ upskill หรือ reskill ความรู้ด้าน AI เราก็เปิดรับเช่นกัน โดยโครงการเริ่มตั้งแต่ปูพื้นฐาน AI ไปจนถึงการ ทำงานบนข้อมูลจริง และการทำงานกับผู้ประกอบการด้าน AI ด้วย ผู้ที่สนใจโครงการดีๆ แบบนี้ใน Season ถัดไป สามารถติดตามผ่านเว็บไซต์โครงการ  https://superai.aiat.or.th/ หรือช่องทางยูธูป เฟสบุ๊กของ สมาคม AIAT เรามีกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้มากมายครับ”

การจัดงานจะแบ่งออกเป็น 2 วันด้วยกัน 

กิจกรรมวันแรก (วันที่ 16 สิงหาคม) การบรรยายถึง ภาพรวมปัญญาประดิษฐ์ของประเทศไทย และแผนปฏิบัติการด้านปัญญา ประดิษฐ์แห่งชาติ เพื่อการพัฒนาประเทศไทย (พ.ศ. 2565 – 2570) การเปิดตัวโอเพ่นซอร์ส “โอเพ่นไทยจีพีที” หรือ “OpenThaiGPT” แจกจ่ายให้ชุมชนนักพัฒนา ปัญญา ประดิษฐ์ ชาวไทยสามารถนำไปประยุกต์ ใช้ได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งการเสวนาภาพรวมวงการ ปัญญาประดิษฐ์จากวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญทั้งจากภาครัฐ เอกชน หน่วยงานวิจัย รวมถึงกลุ่มธุรกิจ Startup ด้าน AI มาร่วมแลก เปลี่ยนมุมมองของการพัฒนาและต่อยอดในโลกที่ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI กลายมาเป็นส่วน สำคัญของชีวิตและธุรกิจ

กิจกรรมวันที่สอง (17 สิงหาคม) จะมีการกล่าวถึงผลงาน ของผู้อบรมในโครงการสร้าง นวัตกรวิศวกร นักวิจัยและวิสาหกิจเริ่มต้นด้านปัญญาประดิษฐ์ รุ่นที่ 3 หรือ Super AI Engineer Development Program โดยสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIAT) และเครือข่ายมหาวิทยาลัยทั้ง 6 ภูมิภาค และเครือข่ายภาครัฐและเอกชน เข้ามาร่วมจัดอบรม บ่มเพาะนักปัญญาประดิษฐ์เพื่อตอบโจทย์ด้านบุคลากรในหลายหลากเพื่อส่งมอบบุคลากรแรงงานทักษะขั้นสูงสู่ภาคอุตสาหรรมประเทศไทยพร้อมทั้งยังจัดการแข่งขัน Startup Pitching ด้าน AI เพื่อสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบกา รรายใหม่ๆ

สำหรับผู้ประกอบการ หน่วยงานวิจัย หรือภาคอุตสาหกรรม  ที่สนใจเข้ามาพูดคุยกับคนรุ่นใหม่ สายพันธุ์ปัญญาประดิษฐ์จากโครงการ Super AI Engineer และกำลังมองหาบุคลากรเอไอไปร่วมงานสามารถเข้ามาลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ในงานได้เช่นกัน

ประชาชนทั่วไปสามารถเดินทางเข้าร่วมงานได้ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์  และติดตาม กิจกรรมได้ผ่าน เฟสบุ๊กของทั้งสองสมาคมรับชมภาพการถ่ายทดสดบางส่วนโดยติดตามผ่านช่องทาง เฟสบุ๊กของสมาคม AIEAT และผ่านยูธูป AIAT สามารถดูรายละเอียดกิจกรรมได้ที่ https://www.aithailandforum.com/  ในวันที่ 16 – 17 สิงหาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 10.00 น - 18.30 น. ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (QSNCC) ชั้น 2 ห้อง MR210-211 เข้าชม ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ 

Share:

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Recent Posts

ค้นหาบล็อกนี้

Contact Us ::

📲 (+66) 081 4345154
✉️ Insightoutstory@gmail.com

Add Line📲 Click 👇👇

Translate

🚉 ช.ส.ท.พาเที่ยว นครฯ

Review By Nichapa

POPULAR NEWS

Fanpage Facebook

ป้ายกำกับ

คลังบทความของบล็อก