SAHA GROUP BANGKOK YOUNG DESIGNER AWARDS 2018

จัดเต็ม 70 ชุดสุดปังบนเวทีสหกรุ๊ป 
แบงค็อก ยัง ดีไซเนอร์ อวอร์ด 2018
ในธีมแคชชวล โซไซตี้ 4.0 




ดร. ศิรินา โชควัฒนา ปวโรฬารวิทยา พร้อมผู้บริหารเครือสหพัฒน์    ให้เกียรติมอบรางวัลในโครงการประกวดออกแบบเครื่องแต่งกาย “SAHA GROUP BANGKOK YOUNG DESIGNER AWARDS 2018” (สหกรุ๊ป แบงค็อก ยัง ดีไซเนอร์ อวอร์ด 2018)        

ณ ไบเทคบางนา  จัดโดยเครือสหพัฒน์  เปิดบันไดก้าวแรกในเส้นทางดีไซเนอร์มืออาชีพมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 17 โดยปีนี้ได้กำหนดคอนเซ็ปต์ “CASUAL SOCIETY 4.0 (แคชชวล โซไซตี้ 4.0) เมื่อสังคมขยับ ดีไซน์ต้องปรับให้ทัน” เป็นการออกแบบสร้างสรรค์ชุด    

ในสไตล์ที่ดูล้ำสมัยเหมาะกับสังคมยุคดิจิทัลแต่ใส่ได้จริงให้กลายเป็นเทรนด์อนาคตและจัดแสดงแฟชั่นโชว์แบบเต็มคอลเลกชั่น ซึ่งได้มีการเปิดรับสมัครนักศึกษาอายุ 18 – 25 ปี จับคู่ทีมละ 2 คน  เข้ามาประกวดแข่งขันเพื่อชิงเงินรางวัลและบินลัดฟ้าสู่กรุงโตเกียวชมแฟชั่นโชว์สุดตระการตาของ Bunka Fashion Collage ที่ญี่ปุ่น และรับคอร์สเรียนจาก Bunka Fashion School ในไทย พร้อมรางวัลอื่นๆ รวมมูลค่ากว่า 550,000 บาท ที่สำคัญยังดีไซเนอร์ที่ผ่านโครงการฯ นี้   มีโอกาสได้ร่วมงานกับบริษัทในเครือสหพัฒน์อีกด้วย 

รางวัลชนะเลิศยอดเยี่ยม รับเงินสด 100,000 บาท รวมถึงแพ็กเก็จท่องแดนอาทิตย์อุทัย พร้อมโล่รางวัลและใบประกาศ
รางวัลดีเด่นประเภทเสื้อผ้าผู้ชาย เสื้อผ้าผู้หญิง เสื้อผ้าเด็ก ได้รับเงินสดรางวัลละ 30,000 บาทพร้อมโล่รางวัลและใบประกาศ
รางวัล The Best Make Up Award  ได้รับเงินสด 15,000 บาท โล่พร้อมใบประกาศ
รางวัลชมเชย ได้รับเงินสด รางวัลละ 5,000 บาท พร้อมใบประกาศ
ทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายทั้ง 8 ทีม ได้รับคอร์สดีไซน์จากโรงเรียนบุนกะแฟชั่น มูลค่า 8,000 บาท  และประกาศนียบัตรรับรองความสามารถจากโครงการฯ

สำหรับการแข่งขันได้ปีนี้ได้เดินทางมาถึง “รอบชิงชนะเลิศ” มีผู้เข้ารอบ 8 ทีมสุดท้าย เป็น นักศึกษาจากสถาบันต่างๆ ร่วมส่งผลงานเข้าประกวดโดยสามารถตอบโจทย์แนวคิดในปีนี้ และมีฝีมือเข้าตากรรมการมากที่สุด ซึ่งน้องๆ ทุกทีมได้จัดเตรียมผลงานกว่า 70 ชุดที่ได้รับทุนตัดเย็บชุดจริงในสไตล์ครีเอทีฟแวร์และเรดดี้ทูแวร์ ที่ทันสมัยแต่ใส่ได้จริง เพื่อจัดแสดงแฟชั่นโชว์ต่อหน้าบุคลากรระดับแนวหน้าที่ให้เกียรติมาเป็นคณะกรรมการตัดสิน ทั้งผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับการออกแบบและผู้บริหารด้านธุรกิจสิ่งทอ อาทิ สุวิทย์  วงศ์เจริญวุฒภร  กัลยา ไวยานนท์  ตวงทิพย์ ณ นคร  ธนฤทธิ์ แสงสิน  ผ่านการแสดงแบบของเหล่าโมเดลทั้งชาย หญิง และเด็กเลือดใหม่ไฟแรง  จีน่า-วิรายา ภัทรโชคชัย   หลิน-มชณต สุวรรณมาศ  มะปราง-จุติพร อรุณโชติ  แนท-อนิพรณ์ เฉลิมบูรณะวงศ์ ฯลฯ

8 ทีมสุดท้าย เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ

ทีม 1. YOU AND I  น.ส. สลิลดา ศรีถาการ ม.เชียงใหม่–น.ส. เพชรรัตน์ ป่วนครบุรี ม.ราชภัฏอุบลราชธานี  
ได้แนวคิดมาจากความอิสระของจิตรกรที่ความคิดสร้างสรรค์และมีอิสระในการทำงาน สอดคล้องกับยุค 4.0 เป็นยุคแห่งโลกที่เปิดกว้างทางด้านมุมมองและความคิด เนื้อผ้าส่วนใหญ่จะเป็น cotton 100% เพื่อสื่อถึงความสบายในการสวมใส่ ส่วนเทคนิคพิเศษเป็นการทำลายนูน ปั๊มลายนูนเรืองแสงเพื่อเล่นกับไฟให้ดูมีมิติมากขึ้น




ทีม 2. Alienend  น.ส. อนัญญา นิวัฒน์ฐิติกุล-น.ส. ญาณิศา แผนสนิท จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ได้แรงบันดาลใจมาจากโรบอทและนวัตกรรมการใส่ฟังก์ชั่นที่ปรับเปลี่ยนได้หลายๆ แบบ มีทั้งฟังก์ชั่นจากเสื้อโค้ทมาเป็นกระเป๋า จากกระเป๋าไปเป็นหมวก หรือกระเป๋าถือเป็นโคเซ็ท เพราะว่าการใส่ฟังก์ชั่นที่เปลี่ยนได้เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่บอกว่าแฟชั่นก็ตามทันโลก เทคนิคพิเศษจะนำผ้าเวสปอยท์มาทำเป็นราฟเฟิล นำผ้าเมทาลิคยัดใยสังเคราะห์เพื่อให้รูปทรงเหมือนบุนวมข้างในและเสื้อของผู้ชายจะมีแผงไฟฟ้าเมทาลิคที่สื่อถึงโรบอท




ทีม 3. D.Z (ดีซี) นายสิทธิพงษ์ จรัสแสง-นายปฤษฎี สัตยรังษี ม.เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 
แนวคิดนี้เป็นการออกแบบที่สื่อถึงปัญหาสังคมและสภาพแวดล้อม เช่น ปัญหาเรื่องขยะพลาสติก ได้ดึงเทรนด์  ปี 2018-2019  มาเป็นไกด์ในการออกแบบ โดยจะเน้นสีแดงและสีเทาเป็นหลัก เป็นการเล่าเรื่องผ่านสัญลักษณ์ นำความเป็นสตรีท ป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ  มาใช้ และนำ QR Code มาสกรีนลงบนชุด เนื้อผ้าที่ใช้จะเป็น คอตตอนสแปนเด็กซ์  ที่มีความยืดหยุ่น  ใช้เทคนิคสีที่สกรีนเป็นสีเรืองแสง และบางชุดสามารถใส่ร่วมกันได้ทั้งหญิงและชาย  




ทีม 4 YO-DO น.ส. วิริญ ธรรมดี-น.ส. ธัญวลัย โภคินเมธาสิทธิ์ ม.เกษมบัณฑิต 
เทรนด์เสื้อผ้าที่ใช้เป็นแบบสปอร์ทผสมกับแม่น้ำคาโนคริสเทลส์หรือแม่น้ำห้าสีที่มีความเป็นธรรมชาติ ผสมผสานความเป็นดิจิตอลและเทคโนโลยียุคปัจจุบันที่มีความล้ำสมัย เพราะคนส่วนใหญ่จะสนใจแต่เทคโนโลยีโดยจนอาจลืมความเป็นธรรมชาติ เลยนำสองสิ่งนี้มารวมกัน ผ้าที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นผ้ายืด ใช้เทคนิคพิเศษในการผสมสี คือการเอาสีต่างๆ มาหยดลงในน้ำ ทำให้เกิดลายบนผืนน้ำและใช้ผ้าจุ่มลงไปให้สีติดบนเนื้อผ้า รวมถึงเลือกใช้วัสดุที่คนมองข้ามกัน อย่างเช่น นำพรมมาทำเป็นดีเทลเสื้อผ้า




ทีม 5 LIMITLESS นายธนู อุ่นศิริ–น.ส. ณัฐสุดา ศรีแย้ม ม.ขอนแก่น 
แนวคิดมาจากวัฒธรรมพื้นถิ่น โดยต้องการให้สิ่งที่คนมองว่าเก่าโบราณ กลับมาใช้ได้ใหม่และยังมีคุณค่าในตัวเอง ซึ่งเป็นการนำเอาลวดลายศิลปะโบราณของเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงมาทำให้มีความทันสมัย นำมาประยุกต์ตกแต่งเพิ่มให้มีความแปลกใหม่ แต่ยังมีพื้นฐานของเรื่องราวเดิมๆ เทคนิคพิเศษ คือเพิ่มลวดลายให้มีความเป็นสามมิติ โดยวัสดุที่ใช้นั้นจะเป็นแผ่นยางที่มีความนุ่ม  ใช้สีเมทาลิคมาผสมกับผ้าลินินและผ้าออคินดี้ ที่เป็นเนื้อผ้าเบา สบาย สวมใส่ง่ายเหมะกับสภาพอากาศของไทย




ทีม 6 Back to the Future น.ส. ณัฐธิดา ปรีชาไว–น.ส. ชญาภรณ์ จันทร์ฉาย ม.ธรรมศาสตร์ 
แนวคิดมาจากการเปลี่ยนระบบของกล้องถ่ายภาพจากอนาล็อกไปสู่ดิจิทัล ซึ่งมีการเปลี่ยนผ่านค่อนข้างรวดเร็ว แต่ในความรวดเร็วนั้นก็ยังคงมีรูปแบบเดิมอยู่ เหมือนทรานฟอร์มจากแบบหนึ่งไปสู่อีกแบบหนึ่ง ผ้าที่ใช้มีผ้าซิลค์ ออแกนดี้ซิลค์ ผ้าเมทาลิค ผ้าแจ็คการ์ด ส่วนเทคนิคพิเศษนั้นมีการปริ้นท์ดิจิทัลลงพลาสติก และลงซิลค์ ออแกนดี้ เพิ่มเติมด้วยการอัดพลีท




ทีม 7 Paradox นายเฌอพัชญ์ เศวตภาคิน-นายณัฐรัสน์ วีระชนานันท์  โรงเรียนบุนกะแฟชั่น  
คอนเซ็ปมาจากความย้อนแย้ง ความสับสนของความคิดคนเรา เช่น เราคิดอะไรได้สักอย่างหนึ่ง แต่ยังไม่กล้าที่จะทำ เพราะคิดว่าเราแค่คนส่วนน้อยจะทำหรือไม่คงไม่ส่งผลต่อสังคม เนื้อผ้าที่เราใช้นั้นจะเป็น PVC ออกแบบเป็นกึ่งทางการ กึ่งแคชชวล เพราะอยากได้เสื้อผ้าที่เป็นทางการและดูลำลองในชุดเดียวกัน  เทคนิคพิเศษใช้การปักและใช้สียางวาดลงบนผ้ารวมถึงการปริ้นท์ดิจิทัล




ทีม 8  617  น.ส. อภิญญา ทรงพลยศ-น.ส. มณีรัตน์ ฉัตรชูไชยกุล  ม.ธรรมศาสตร์  
ผลงานนี้เป็นการพัฒนาศักยภาพของชนชั้นและด้วยที่บ้านทำธุรกิจจำหน่ายเครื่องมือด้านวิศวกร จึงหยิบยกรูปแบบของวิศวกรมาทำให้ดูคลีน ออกแบบให้เป็นสไตล์สปอร์ท มีความทะมัดทะแมงและ เนื้อผ้าในส่วนของโค้ทเป็นผ้าชาแนล ทำให้ดูไม่เรียบเกินไป และส่วนของชุดหมี ชุดเอี๊ยมจะใช้ผ้าดัชเชส ซาติน ให้ดูมีความเงา เรียบหรู เทคนิคพิเศษจะมีชุดครีเอทีฟที่ไม่เหมือนตัวอื่น คือทำดีฟังก์ชั่นกระเป๋า มีลายปริ้นท์ที่ออกแบบเอง เป็นลายฟันเฟืองสื่อถึงวิศวกร เครื่องจักร ใช้การสกรีนลงบนผ้าและมีเย็บตามรอบขอบปริ้นท์ให้เกิดความนูน






Share:

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Recent Posts

ค้นหาบล็อกนี้

Contact Us ::

📲 (+66) 081 4345154
✉️ Insightoutstory@gmail.com

Add Line📲 Click 👇👇

Translate

🚉 ช.ส.ท.พาเที่ยว นครฯ

Review By Nichapa

POPULAR NEWS

Fanpage Facebook

ป้ายกำกับ

คลังบทความของบล็อก