“SACIT Concept 2024 : Geographical Indications of Art and Craft”

 

SACIT ขอเชิญชวนเข้าร่วมนิทรรศการแสดงผลงานแสดงกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ จากผลงานผู้ประกอบการสินค้าหัตถกรรม 30 ราย กับนักออกแบบ 10 ราย ผู้ผ่านการคัดเลือก Craft Design Pitching & Matching 

กรุงเทพฯ 9 พฤษภาคม 2567 : สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. จัดกิจกรรมคัดเลือก และกิจกรรมการจับคู่ Pitching & Matching ระหว่างผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการสินค้าหัตถกรรมกับนักออกแบบ ในโครงการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์ (SACIT Concept 2024 : Geographical Indications of Art and Craft) ตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภคยุคใหม่ในปัจจุบัน

นางสาวนฤดี ภู่รัตนรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย เผยว่า โครงการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์ (SACIT Concept 2024 : Geographical Indications of Art and Craft) ภายใต้ธีม GI Smart Craft Combinations: คราฟต์ ผสมผสาน อย่างชาญฉลาด เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีประสบการณ์ด้านการออกแบบรวมถึงผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการสินค้าหัตถกรรมได้มีโอกาสผสมผสานร่วมกันระหว่างเทคนิค วัสดุ ฯลฯ 

สำหรับการคัดเลือก และกิจกรรมการจับคู่ Pitching & Matching ในรอบนี้สถาบันได้รับเกียรติจาก คณะกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ร่วมในการตัดสิน ได้แก่ หม่อมหลวงคฑาทอง ทองใหญ่ นักวิชาการพาณิชย์ เชี่ยวชาญ นางกิติยาพร สาธุเสน ผู้อำนวยการกองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์กระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนจาก King Power นายภูสิษฐ์(พีรวงศ์) จาตุรงคกุล ที่ปรึกษาด้านนวัตกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผศ.ดร.ดุจหทัย วงษ์กะพันธ์ หัวหน้าภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กรรมการได้ทำการคัดเลือกผู้ประกอบการสินค้าหัตถกรรม 30 ราย กับนักออกแบบ 10 ราย โดยหลักเกณฑ์การพิจารณาสำหรับผู้ผลิต ผู้ประกอบการสินค้าหัตถกรรม แนวความคิด เรื่องราว ภูมิปัญญา และ

แรงบันดาลใจ, ข้อมูลประกอบด้านเทคนิค และวัสดุที่ใช้ผสมผสานในการผลิตผลงาน, รูปภาพผลงาน ผลิตภัณฑ์ที่เคยสร้างสรรค์ มีความสวยงาม ปราณีต และโดดเด่น, ประสบการณ์ ผลิตภัณฑ์ที่มีมาตราฐานรับรอง และรางวัลที่เคยได้รับ หลักเกณฑ์การพิจารณาสำหรับนักออกแบบ แนวคิด และแรงบันดาลใจในการผลิตผลักดันคุณค่าของผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยรวมถึงเทคนิคและวัสดุที่ใช้ผสมผสานในการผลิตผลงานเพื่อให้เกิดความยั่งยืนและต่อยอดเชิงพาณิชย์, รูปภาพผลงาน ผลิตภัณฑ์ที่เคยสร้างสรรค์ มีความสวยงาม ปราณีต และโดดเด่น, ประสบการณ์ และรางวัลที่เคยได้รับ และได้พิจารณาจับคู่ (Pitching & Matching) ระหว่างผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการสินค้าหัตถกรรมกับนักออกแบบ 

สถาบัน กำหนดจัดนิทรรศการแสดงกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ภายใต้ SACIT Concept จากผลงานผู้ประกอบการสินค้าหัตถกรรม 30 ราย กับนักออกแบบ 10 ราย ผู้ผ่านการคัดเลือก Craft Design Pitching & Matching ในงาน Craft Bangkok 2024 นางสาวนฤดี ภู่รัตนรักษ์ กล่าวปิดท้าย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) 

ที่อยู่ 59 หมู่ 4 ตำบลช้างใหญ่ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13290 ; โทรศัพท์. 0 3536 7054-9; โทรสาร. 0 3536 7050-1; สายด่วน. 1289; อีเมล. info@sacit.or.th


Share:

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Recent Posts

ค้นหาบล็อกนี้

Contact Us ::

📲 (+66) 081 4345154
✉️ Insightoutstory@gmail.com

Add Line📲 Click 👇👇

Translate

🚉 ช.ส.ท.พาเที่ยว นครฯ

Review By Nichapa

POPULAR NEWS

Fanpage Facebook

ป้ายกำกับ

คลังบทความของบล็อก